วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เรียนกีตาร์คลาสสิก จบมาจะทำอะไร ?


เรียนกีตาร์คลาสสิก จบมาจะทำอะไร ?

เป็นคำถามยอดฮิต ของผู้ปกครองทั่วไปที่ลูกๆอยากเข้าเรียนเอกดนตรี ว่าจบมาจะทำอะไรกันดี ผมจะกล่าวโดยทั่วไปก่อนว่า งานหลักๆ ของนักกีตาร์คลาสสิกทั่วๆ ไปก็คืองานสอนไม่ว่าจะเป็นในไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งเมื่อจบมาแล้วผมคิดว่าจะมีรายได้มากกว่าผู้ที่จบปริญญาตรีทั่วไป โดยรายได้เฉลี่ยสอนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ ประมาณ 8000-16,000 บาท ซึ่งถ้าเปรียบกับคนจบสาขาอื่นๆ 8000-16,000 ต้องทำงานถึง 5 วันเลยทีเดียว แต่การสอนดนตรีก็จะมีข้อเสียอย่างหนึ่งคือถ้าเราไม่สบายหรือขาดสอนรายได้ก็จะหายไปด้วยไม่สามารถนำใบรับรองแพทย์มายื่นกับนักเรียนได้ (555) และช่วงวันธรรมดาก็หาเด็กเรียนยากหน่อยในเวลาช่วงทำงาน อาจจะสอนได้เฉพาะช่วงเย็นๆ เท่านั้น โดยค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปผู้ที่สอนกีตาร์ตามโรงเรียนทั่วไปเป็นอาชีพหลักรายได้จะอยู่ที่เดือนละ 20,000-30,000 บาทโดยประมาณ

กับอีกงานหนึ่งคือ การแสดงคอนเสิร์ต เป็นอีกงานหลักหนึ่งของนักกีตาร์แต่ในเมืองไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก เพราะยังไม่สามารถยึดเป็นอาชีพหลักได้ ซึ่งผมจะเล่าจากประสพการณ์ที่ผ่านมานะครับ อาชีพการแสดงอาจเป็นอาชีพที่จำกัดกับคนที่มีชื่อเสียงมากๆเท่านั้น เพราะเป็นที่ต้องการของทุกคน ในเมืองไทยอาจจะแสดงในประเภทเล่นตามโรงแรมซึ่งรายได้อยู่ที่ 15,000-30,000 ต่อเดือน กับการเล่นคอนเสิร์ตของผม โดยเฉลี่ยแล้วปีนึงจะเดินทางไปแสดงยังต่างประเทศประมาณปีละ 5 ประเทศ ซึ่งรายได้ในการเล่นในแต่ละครั้งจะตกอยู่ระหว่าง 20,000-30,000 ขึ้นอยู่กับระยะเวลาว่าไปนานเท่าใด หรือว่าใครเป็นผู้จัด ซึ่ง Rate 500 EU เป็นราคากลางมาตรฐานสำหรับนักกีตาร์หน้าใหม่ยังมีชื่อเสียงไม่มาก แต่ถ้ารุ่นใหญ่ๆ อาจจะราคา 1000 EU ขึ้นไป และเวลาในประเทศผมก็รับงานเล่น EVENT ทั่วไปปีละ 2-5 งานโดยทั่วไปรายได้จากการแสดงต่อปีจะอยู่ประมาณ 150,000-200,000 บาท แต่ผมก็จะมีกำไรจากได้ไปเที่ยวต่างประเทศด้วยแบบไม่ต้องจ่ายเงินค่าเที่ยวเลย !

โดยสรุปแล้วอาชีพนักดนตรีก็ยังเป็นอาชีพที่ทำแล้วมีความสุขและก็หาเงินได้ง่ายกว่าอาชีพอื่นๆ โดยทั่วไปครับ


วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เราจะเล่นเพลงอะไรในคอนเสริตให้เหมาะสม !


การเลือกบทเพลงเป็นอย่างหนึ่งที่ทำให้ประสพความสำเร็จอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ว่าอยากจะเล่นอะไรก็เล่น บางคนเล่นเก่งมากแต่ตนไม่ชอบ แต่อีกคนหนึ่งเล่นธรรมดาแต่คนฟังชอบมาก !

หลักในการเลือกเพลงนั้นก็มีหลักการอยู่เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น คือ

1. ผู้ฟังคือใคร เราจะต้องรู้ว่าผู้ฟังคือใครอันดับแรกแล้วจึงจัด Program สำหรับการเล่นบางงานไปเล่นให้นักศึกษาดนตรีฟัง อาจจะต้องเล่นเพลงยากๆ ฟังยาก หรือ เล่นให้บุคคลทั่วไปควรเป็นเพลงที่ฟังไม่ยาก หรือเป็นเพลงที่เขารู้จักเป็นต้น

2. แบ่งจำนวนสัดส่วนผู้ฟัง เราจะต้องจัดบทเพลงให้เหมาะกับสัดส่วนผู้ฟังเช่น ถ้ามีนักกีตาร์มาฟังเพียง 5 % ของคนทั้งหมดที่เหลือเป็นคนฟังเพลงทั่วไป การจัดโปรแกรมนั้นก็ต้องให้เหมาะสมกับสัดส่วนเช่นกัน 95 % เราก็คงยังเอาใจคนทั่วไปเป็นต้น

เลือกเพลงได้แล้วหลังจากนั้นเราก็บรรเลงเข้าไปในหัวใจผู้ฟัง ให้โดนใจเขาให้ได้เพื่อที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้ชม อยากเข้ามาชมเราในการแสดงครั้งต่อๆไป

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การฝึกซ้อมกีตาร์หรือการเล่นกีตาร์ ?

การฝึกซ้อมกีตาร์หรือการเล่นกีตาร์ ?

หลายคนชอบถามผมว่าเวลาฝึกซ้อมต้องฝึกยังไง เป็นคำถามที่ทุกคนพยามจะถามเพื่อนำไปปฏิบัติตามเป็นแนวทาง แต่ก่อนอื่นนั้นคุณจะต้องรู้ก่อนว่าสิ่งที่คุณทำอยู่เป็นการเล่นหรือการซ้อมกันแน่ ?

การเล่นและการซ้อมบางทีมันอาจจะดูคล้ายๆ กันแต่ผลที่ได้มานั้นต่างกันมากเลยทีเดียว การเล่นคือการดีดกีตาร์แบบไม่มีเป้าหมาย แต่การซ้อมนั้นเป็นงานที่มีเป้าหมายสามารถวัดได้ เช่น

เราอยากจะเพิ่มความเร็วในการเล่น ยกตัวอย่างถ้าต้องการไล่สเกลให้ได้ความเร็ตตัวดำ = 140 เราก็ต้องกำหนดว่าเราจะฝึกอย่างไร เช่น สัปดาห์ที่ 1 = 80  สัปดาห์ที่ 1 = 90 สัปดาห์ที่ 1 = 100 เป็นต้น และปฏิบัติอย่างมีวินัยไปให้ถึงเป้าหมายของเรา ไม่ใช่เราจะเล่นไปเรื่อยให้มันถึง 140 แบบไม่มีการวางแผนอะไรเลยเป็นต้น

เราลองนึกดูว่าทุกวันนี้เราเล่นหรือซ้อมกันแน่ ????

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การตีความเพลง Sonatina Mv.1 ประพันธ์โดย F.M.Torroba

ผมได้เอาบทความที่เคยเขียนลงนิตยสารมาลงไว้ให้เป็นแนวทางสำหรับคนที่กำลังฝึกเพลงนี้นะครับ