วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Ernesto García de León : Madre e Hijo (Estudio No.5)

Ernesto García de León :Juego de Ninos (Estudio No.4)

Ernesto García de León : La Caverna (Estudio No.3)

Ernesto García de León : Ensueno (Estudio No.2)

Ernesto García de León : El Bufon (Estudio No.1)

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สุขเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ ของนักกีตาร์ไทย ระดับนานาชาติ





ชื่อของ "อาจารย์โน้ต" ณัฐวุฒิ รัตนกาญจน์ อาจเป็นแค่ "ใครสักคนที่ไม่รู้จัก" สำหรับคนทั่วไป หากในวงการกีตาร์คลาสสิกทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อของเขาถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในฐานะนักกีตาร์คลาสสิกฝีมือเยี่ยมที่เปิดการแสดงมาแล้วกว่า 15 ประเทศ และยังเป็นผู้จัดงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล กีตาร์ เฟสติวัล ที่จัดขึ้นในบ้านเราติดต่อกันมาแล้วถึง 11 ปี

ณัฐวุฒิ ซึ่งปัจจุบันอายุ 30 ปี บอกว่า ก่อนหน้านี้เขาก็เริ่มต้นเหมือนวัยรุ่นทั่วไป ที่พอเริ่มจับกีตาร์ตอนอายุได้ราว 15-16 ปี ก็สนใจในกีตาร์ไฟฟ้า จากนั้นก็ฟอร์มวงเล่นดนตรีกับเพื่อนๆ กระทั่งปีเศษๆ ให้หลัง ระหว่างไปเดินหาซื้อซีดี และได้ยินเสียงกีตาร์คลาสสิกเป็นครั้งแรก ความคิดก็เปลี่ยนแปลงไป

"ผมเห็นลุงคนหนึ่ง ท่านั่งเล่นกีตาร์เขาแปลกๆ เลยซื้อซีดีเขามาฟัง ฟังแล้วก็ตกใจ เฮ้ย! กีตาร์ตัวเดียวเล่นได้ขนาดนี้เลยเหรอ" ณัฐวุฒิเล่าประกอบท่าทางตื่นเต้นอย่างออกรส

ภาพที่เห็นและเสียงที่ได้ยินในครั้งนั้นแหละที่ณัฐวุฒิบอกว่าเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต เพราะเขาตัดสินใจทันทีที่ฟังจบว่า อยากเล่นได้อย่างนั้นบ้าง คิดแล้วก็หยุดเล่นกีตาร์ไฟฟ้า และเริ่มต้นใหม่ด้วยการไปเรียนกีตาร์คลาสสิกตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น

เริ่มโดยแม้จะมี "ความฝัน" ซุกซ่อนไว้บ้าง แต่ก็ไม่มั่นใจหรอกว่าจะทำได้สำเร็จ

"เป็นความฝันของเด็กๆ ที่อยากเอากีตาร์ไปเล่นรอบโลก ไม่รู้หรอกว่าจะไปด้วยวิธีไหน แต่ฝันไว้ก่อน" เขาบอกพลางหัวเราะ

จากนั้นก็เริ่มสานฝันด้วยการพยายามแสดงฝีมือเท่าที่โอกาสจะให้ จากพื้นที่เหนือสุดจรดใต้สุดของประเทศไทย เขาไปหมด ไปแม้กระทั่งแคมป์นักกีตาร์ที่สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งตอนนั้นเองที่เส้นทางเริ่มเปิดให้ได้เดินทางไปแสดงในหลายประเทศ

ฟังดูเหมือนไม่ยาก

แต่ไม่ใช่

เพราะกว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ เขาต้องใช้เวลาซ้อมถึงวันละ 10 ชั่วโมง เนื่องจากรู้ตัวดีว่าเริ่มช้ากว่าคนอื่น และการซ้อมหนักคือหนทางเดียวที่จะไปสู้กับใครๆ ได้

"ถามว่าท้อไหม ก็ไม่นะ เหมือนเราตั้งใจ เราเล่นแล้วเรามีความสุขไง ก็เลยไม่ท้อ"

ไม่ท้อเหมือนตอนเข้าร่วมการแข่งขันกีตาร์หลายครั้ง แล้วแพ้บ้าง ชนะบ้าง เพราะมองว่าผลลัพธ์คือ "เรื่องธรรมดา" สำคัญที่สุดอยู่ที่ระหว่างทางของการไปสู่เป้าหมายต่างหาก

"การแข่งไม่ใช่สิ่งสุดท้ายในชีวิต เพราะท้ายที่สุดพอเรียนจบแล้วต่างหากคือชีวิตจริง" 

เขาเองตอนเรียนจบจากสาขาดนตรีตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ก็มีสภาพไม่ต่างจากนักกีตาร์คนอื่นๆ ที่ต้องขวนขวายหางานทำ

"แต่ในเมืองไทยมันยังไม่สามารถเล่นเป็นอาชีพได้นะ อย่างมากก็ได้เล่นตามโรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งผมไม่ชอบเลย จึงพยายามหาตลาดของตัวเองที่ต่างประเทศ"

เริ่มด้วยการเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศเยอรมนี ด้วยความหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่าจะมีงานแสดงให้ทำด้วยในระหว่างนั้น แต่ก็ต้องผิดหวัง ทั้งจากระบบการเรียนการสอนที่เขาคิดว่าตัวเองถูกตีกรอบการเล่นให้เป็นไปตามที่คนสอนต้องการมากเกินไป ขณะเดียวกันงานแสดงดนตรีที่คิดว่าจะมี การหาไม่ได้

"ผมไม่แฮปปี้ก็เลยหนีกลับมาเลย" เขาบอกตรงๆ

ถึงกระนั้นใจเขายังสู้เต็ม 100

"คือเราแขวนเป้าของตัวเองไว้ว่าอยากไปตรงนี้ให้ได้ แล้ววันไหนท้อ ก็กลับไปนั่งดูเป้าหมาย แล้วตะกายใหม่"

เขาเองตะเกียกตะกายเอางานของตัวเองไปเสนอหลายครั้ง ได้ผลตอบรับให้ไปเล่นหลายหน ทั้งในรูปของการเป็น 1 ในศิลปินที่ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรี หรือการแสดงเดี่ยว 

ปัจจุบันณัฐวุฒิเป็นอาจารย์สอนกีตาร์ที่รับ ทั้งคลาสส่วนตัว, สอนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และกำลังจะไปเป็นอาจารย์พิเศษให้มหาวิทยาลัยดนตรีในประเทศมาเลเซีย

ขณะเดียวกันก็ยังมีคอนเสิร์ตแสดงในต่างประเทศทุกปี 

ดูจะเป็นชีวิตที่ประสบความสำเร็จและมีความสุข-ทักไปอย่างนั้น แล้วเขาเองก็ตอบรับ

"แต่จริงๆ แค่ได้เล่นดนตรีผมก็มีความสุขแล้วนะตอนนี้

"เล่นเก่ง ไม่เก่ง ไม่สำคัญ เราเล่นแล้วมีความสุข มันก็จบแล้ว

"นักดนตรีมันก็แค่นี้ละ

"เพราะความหมายของดนตรีจริงๆ คือเล่นให้ตัวเองมีความสุข แล้วความสุขมันก็ถ่ายทอดให้คนฟังได้"



"กับคำว่า "นักกีตาร์คลาสสิกระดับโลก"

"อย่าเรียกเลย" ณัฐวุฒิรีบห้าม

"เรียกทีไรถูกด่าทุกที" เป็นเหตุผลที่มาพร้อมเสียงหัวเราะดังก้อง

"บางคนก็บอกผมซื้อตั๋วไปเล่นเอง ซึ่งเป็นไปไม่ได้หรอกครับ ถ้างานไหนไม่ออกค่าตั๋วให้ ผมก็ไม่ไปนะ"

งั้นตอนนี้อยู่ในระดับไหนล่ะ?

"เรียกว่านานาชาติคงจะดีกว่านะครับ"

ณ ขณะนี้ นานาชาติที่เขาตั้งใจไปเปิดการแสดงคือ 20 ประเทศ ซึ่งคาดว่าจะทำได้ครบในปีหน้า

"หลังจากนั้นเดี๋ยวว่ากันอีกที

"ถ้าโลกไม่แตกซะก่อนนะ" บอกพลางหัวเราะส่งท้ายมาอย่างดัง



หน้า 24,มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2554 

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทุนเรียนกีตาร์คลาสสิกกับ อ.ณัฐวุฒิ รัตนกาญจน์ 2 ทุน รับสมัครตั้งแต่ 21-30 พฤศจิกายนนี้

ทุนเรียนกีตาร์คลาสสิกกับ อ.ณัฐวุฒิ รัตนกาญจน์ : 2 ทุนระยะเวลา 1 ปี

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่มีความตั้งใจแต่ขาดทุนทรัพย์
2. เพื่อสร้างนักกีตาร์คลาสสิกมาตฐานระดับนานาชาติ

คุณสมบัติ

1. เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ศึกษาวิชาเอกกีตาร์คลาสสิก
2. เป็นนักศึกษาที่มีความตั้งใจและขยันฝึกซ้อม

เงื่อนไข

1.ต้องเข้าร่วมการแสดงและการแข่งขันตามที่อาจารย์กำหนดไว้

วิธีการรับสมัคร

ข้อมูลส่วนตัว

1. ชื่อ-นามสกุล
2. ที่อยู่
3. Email และเบอร์โทรศัำพท์ติดต่อ
4. มหาวิทยาลัยและคณะที่เรียน
5. Link บทเพลงอัด VDO การเล่น 1 เพลง บน Youtube หรือ Facebook

รายละเอียดข้อมูลและ Link VDO ส่งมาได้ที่่ Email info@nutavut.com

เที่ยว Rome, Italy 2011

ช่วงเดือนสิงหาคม 2554 ผมได้ไปแสดงดนตรีที่อิตาลี ซึ่งเป็นการกลับไปแสดงครั้งที่ 2 ซึ่งในการแสดงครั้งนี้ผมได้ไปถึง 3 เมืิองด้วยกันคือ Rome Caramanico terme และ Pescara เลยเอารูปมาฝากกันครับ


ภาำพบรรยากาศภายใน Rome ซึ่งผมก็ไม้ได้เดินเที่ยวมากมายเพราะต้องรีบขึ้นรถไฟไปแสดงที่ Pescara ต่อ Blog หน้าจะเอามาลงรูปและ VDO ที่ Pescara และ Caramanico Terme ต่อครับ

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

Nutavut Ratanakarn: ชมฟรี มหกรรมกีตาร์นานาชาติครั้งที่ 11 Thailandland...

Nutavut Ratanakarn: ชมฟรี มหกรรมกีตาร์นานาชาติครั้งที่ 11 Thailandland...: กรุงเทพมหานคร และ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สมาคมกีตาร์กรุงเทพ ภูมิใจเสนอ “มหกรรมกีตาร์คลาสสิกนานาชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด...

ชมฟรี มหกรรมกีตาร์นานาชาติครั้งที่ 11 Thailandland International Guitar Festival 2011 10-13 พฤศจิกายน 2554


กรุงเทพมหานคร และ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สมาคมกีตาร์กรุงเทพ ภูมิใจเสนอ

“มหกรรมกีตาร์คลาสสิกนานาชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบรอบ 84 พรรษา Thailand International Guitar Festival 2011” ระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2554 ณ. ห้องประชุมชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ชั้น 5

ท่านจะได้พบกับการแสดงคอนเสิร์ตกีตาร์คลาสสิกจากศิลปินระดับโลก 9 ประเทศ การทำ Work shop จากศิลปิน  การแข่งขันกีตาร์คลาสสิกนานาชาติระดับเยาวชนและมืออาชีพ  การออกบูธกีตาร์คลาสิกจากชมรมช่างทำกีตาร์ไทย และช่างกีตาร์ชาวต่างประเทศ  โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆในการเข้าชมทั้งสิ้น

ท่านจะได้พบกับศิลปินชั้นนำระดับโลก อาทิ Grabriel Guillen จากประเทศ เวเนซูเอลา Farbricio Mattos จากประเทศ บลาซิล Sasa Dejanovic จากประเทศ โครเอเชีย Tomomi Khono จากประเทศ ญี่ปุ่น Tornado Guitar Duo จากประเทศ รัสเซีย Nutavut Ratanakarn จากประเทศไทย Xu Bao จากประเทศจีน Vitoria Zhadko จากประเทศยูเครน และ Simon Cheong จากประเทศมาเลเซีย

โดยมีการกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
10 พฤศจิกายน 2011
10:30-16:00 Local & Youth Competition
16:00-18:00 Master Class with Fabrcio Mattos
19:00-20:30 Concert by Sasa Dejanovic
11พฤศจิกายน 2011
10:30-14:00 International Guitar Competition First Round
14:00-16:00 Master Class with Xu Bao
16:30-18:00 Concert by Simon Cheong
19:00-20:30 Concert by Tomomi Kohno
12 พฤศจิกายน 2011
10:30-12:30 Master Class with Garbriel Gullen
14:00-16:00 Master Class with Sasa Dejanovic
16:30-18:00 Concert by Xu Bao
19:00-20:30 Concert by Frabricio Mattos
13 พฤศจิกายน 2011
10:30-12:00 International Guitar Competition Final Round
13:00-14:00 International Guitar Competition Final Round
16:30-18:00 Concert Tornado Guitar Duo
18:00-18:30 Competition Result
19:00-20:30 Concert by Gabriel Gullen & Vitoria Zhadko
รายละเอียดงานเพิ่มเติม ข้อมูลการประชาสัมพันธ์ และติดต่อจองบัตรคอนเสิร์ต ติดต่อได้ที่ www.thailandguitarfestival.com โทร 083-615-5035 email:
nutavutstudio@yahoo.com

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เที่ยว Madrid 2011, Spain

Trip นี้เที่ยว Madrid ภายใน 1 วันเพราะมี Concert ต่อก็เลยกางแผนที่เดินไปตามสถานที่สำคัญจนเกือบครบ เล่นเอาซะปวดขาเลยทีเดียว

สถานที่แรกจากสถานีอาไรไม่รู้จำไม่ได้แล้ว 555

ระหว่างเดินไปก็ผ่านลานหนังสือซึ่งตรงกับงานหนังสือแห่งชาติในกรุงเทพพอดี

นี่คือปราสาท หนึ่งที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของ Madrid ความโดดเด่นคือจะโปร่งใสทั้งตัวอาคาร

สวนสาธารณะขนาดใหญ่หนี่งในสถานที่ท่องเที่ยวของเมดดริด
รูปภาพดังๆมีชื่อเสียงอยู่ที่พิพิธพันธ์นี้กันครับ
Royal Palace ถ้ามาถึง Madrid ต้องมาถึงที่นี่ให้ได้


และก็จบด้วยการแสดง CONCERT ที่ทางสถานทูตไทยเป็นเจ้าภาพ

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Nutavut Ratanakarn Tour concert เดือนสิงหาคม 2554

เดือนที่แล้วไม่ค่อยได้เขียน Blog เลยครับมัวยุ่งๆ อยู่หลายเรื่องยังไงขอ Update Concert ที่กำลังจะมาถึงในเดือนหน้าเลยนะครับ

05 สิงหาคม 2011, กรุงโรม อิตาลี (Private Concert)
06 สิงหาคม 2011, เพสคารา อิตาลี  Festival Internationazionale della dell Orfento
07 สิงหาคม 2011, เพสคารา อิตาลี Pescara Music Festival
10-11 สิงหาคม 2011, เวอร์ซาร์ โครเอเชีย Guitar and Sea Festival
13 สิงหาคม 2011, เวนิส อิตาลี (Private Concert)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.nutavut.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Toredo Spain 2011

หลังจากเสร็จ Concert จาก Vilches แล้วเรามุ่งหน้ากลับมาที่ Madrid ก็ได้ผ่าน Toredo เมืองที่คนชอบมาเที่ยวอีกที่หนึ่ง เมืองนี้จะขึ้นชื่อมากในการทำดาบ ได้แวะถ่ายรูปประมาณ 1 ชมแล้วเดินทางไป Madrid ต่อ




Andres Sergovia Museum, Renares Spain 2

หลังจากคราวที่แล้วได้ลงรูปไว้คราวนี้ได้เอา VDO มาลงให้ดูเพิ่มกันครับ





วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

Concert : Fabricio Mattos Live in Bangkok , 22 May 2011

Concert :  Fabricio Mattos Live in Bangkok , 22 May 2011


Fabricio Mattos,Lives Concert in Bangkok 2011

Sunday 22 May 2011 , 19:00

Thai German Cultural Foundation Auditorium (Goethe), South Sathorn Road Soi 1, Bangkok

For More Information and advance booking please call 0836155035
Email nutavutstudio@yahoo.com
website : www.nutavutstudio.com

Tickets : 300 bath (150 bath for students)

Biography

Fabricio Mattos was born in Curitiba, Brazil. He began his musical studies at the age of six, learning musical theory with his father. When he was fourteen years old, he was introduced to the guitar and was fascinated by the possibilities of this instrument, eventually deciding to study with Dirceu Saggin, at Paidéia Music School, in Curitiba.


He graduated in 2006 Bachelor of Music School of Music and Fine Arts of Paraná (EMBAP), under tuition of Luiz Cláudio Ferreira, and acts as a performer since he was 16 years old. He has launched in 2007 his first CD, "España", with original works by Spanish composers of the twentieth century, in a national tour of concerts in ten Brazilian states. From September to December 2009 Fabrício toured in Brazil as part of the project "SESC-Sonora Brazil", being invited to perform 83 concerts throughout Brazil, which is considered the most significant guitar tour ever realized in that country.

He has participated of many projects for which he recorded tracks for CDs, DVDs, solo television programs, acting as a soloist or chamber musician with the most varied ensembles. He has also served as producer of the series "Violão em Câmara” and artistic producer of the series "Musica e Espiritualidade ", in Curitiba, in addition to exerting an intense didactic activity with the guitar, giving lectures and masterclasses in many different countries. He has played in several international festivals and competitions in various European countries, at events globally recognized for its high musical level.

Fabricio Mattos was awarded in more than ten national and international competitions, like the Armando Prazeres Prize for Young Soloists of Petrobras (Rio de Janeiro, 2003), in which he won first place, and has also received honors as "Ivor Mairants Guitar Award” (Worshipful Company of Musicians, London),"Picker Trust Award” (Royal Academy of Music, London) and "Webshow Video Award”. Recently Fabricio was the first Brazilian musician in history to be elected a finalist for the prestigious "Alexander Tansman Competition of Musical Personalities," in Łódź, Poland, where he performed in November 2008. In 2009, Fabricio was awarded one of the greatest honors ever received by a Brazilian guitarist abroad: the “Julian Bream Award”, an award for artistic excellence and distinction given in London by the legendary guitarist Julian Bream, who personally chose the Brazilian guitarist to join the select rank of winners of this prestigious award.

Fabricio Mattos attended the Master's in music performance at the Royal Academy of Music, one of the best music institutions in the world, and has received a partial scholarship in recognition for his high artistic level. At the Academy, he had as mentors musicians like Michael Lewin, Timothy Walker, Fábio Zanon, and Julian Bream. He constantly collaborates with composers from various musical languages, such as Harry Crowl, Mario Ferraro, Paul Hart, Salomão Habib, Katerina Stamatelos, among others, by dedicating himself to a development and refinement of the musical approach on the guitar, through contact with various ways of expression in music. Fabricio acts as a scholar on guitar performance, performing constantly, both as soloist and chamber musician, always looking for a distinguished interpretation that values the artistic personality and sound and phrasing quality. Fabricio Mattos is currently living in Turin, Italy, and plays a guitar by Brazilian luthier Jorge Raphael.

PROGRAMME
*all pieces dedicated to Fabricio Mattos
Luiz Cláudio Ribas Ferreira
Choro das Araucárias (2010)
Mario Ferraro
Poema Torto (Tortuous Poem) (2010)
Harry Crowl
Three Curitiba Preludes (2009)
1. Obssessive
2. Andante tranquilo ma rubato
3. Andante lento (Quasi una Passacaglia)
Salomão Habib
Suíte Amazônica (Amazon Suite) (2010)
1. Nhamundá,o lago de amor (Nhamundá, the lake of love)
2. Infância (Childhood)
3. Dança das flechas (Dance of the arrows)
4. Feitiço (Spell)
5. Timalatiá tambaramã (rio de sangue, tudo acabou) (river of blood, it’s all over)
Paul Hart
All thus stand light (2009)
Part I (Quasi cadenza – Allegro)
Part II (Malinconico)
Part III (Lento – Sempre accelerando…)

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

Andres Sergovia Museum, Renares Spain

ก่อนหน้าแสดงที่ Vilches หนึ่งวันได้แวะมาเมือง Renares ซึ่งห่างกันไม่มากขับรถไปแค่ประมาณ 30 นาทีเราก็ได้มุ่งหน้าไปสู่ที่ Museum นี้ซึ่งรวบรวมทุกอย่างของ Sergovia ไว้ที่นี่รวมไปถึง หลุมฝังศพของเขาที่อยู่ใต้ Museum นี้


ด้านในเป็นผลงานของ Sergovia มากมายเรียกว่ามากมายจริงๆ รวมไปถึงผลงานบันทึกเสียงต่างๆ ส่วนประวัติ Sergovia ลองไปหาอ่านกันดูตามเว็บต่างๆ นะครับมีมากมายหลายเว็บ















รูปคู่กับ Alberto Ropez เพื่อนของ Sergovia เจ้าของ Museum แห่งนี้

Ramirez ตัวสุดท้ายของ Sergovia (แอบถ่ายมา)

Hauser และ Fiesta ตัวสุดท้ายของ Sergovia (แอบถ่ายมา)


หลุมฝังศพของ Sergovia (แอบถ่ายเช่นเดิม) ไว้อาลัยแด่ศิลปินกีตาร์คลาสสิกที่ยิ่งใหญ่อันดับหนึ่งของโลกที่สร้างสิ่งต่างๆ สำหรับนักกีตาร์คลาสสิกรุ่นหลัง ที่จะเดินบนเส้นทางนี้ ขอขอบพระคุณจากใจจริงอีกครั้ง T_T

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

Concert in Spain 2011

เดือนนี้เป็นอีกเดือนหนึ่งที่วุ่นๆกับการแสดงที่ไม่ค่อยจะได้อยู่เมืองไทยสักเท่าไหร่ ออกเดินทางจากเมือองไทยวันที่ 23 มีนาคม 2554 ด้วยสายการบิน Aeroflot ไปเปลี่ยนเครื่องที่ Moscow ซึ่งรวมเวลาเดินทางทั้งหมด 16 ชม ถึงสเปน ในคืนแรกเราก็พักที่โรงแรมที่ Chamatin Station ซึ่งเป็นโรงแรมในสถานีรถไฟมุ่งหน้าไปถึงเมือง Viches แอนดาลูเซีย และในรุ่งเช้าก็เดินทางโดยรถไฟใช้เวลา 3 ชมนิดๆ



เมือง Vilches เป็นเมืองที่อยู่ภายในภูเขาซึ่งภูมิประเทศแถบแอนดาลูเซียก็จะเป็นลักษณะนี้ทั้งหมดอากาศช่วงนี้ก็สบายๆ อยู่ที่ 19-25 C ก็อากาศคล้ายเมืองไทย ตอนเช้าๆดึกๆ ก็ประมาณ 10 C ได้




ที่เมือง Vilches ก็จะมีปราสาทเก่าแก่อยู่แห่งหนึ่งอยู่บนยอดเขาซึ่งเป็นสัญาลักษณ์ของเมืองนี้




ทีนี่เป็นสถานที่แสดงคอนเสิร์ตและจัดงานทั้งหมดจุได้ 70 กว่าคนบรรยากาศข้างในก็ใช้ได้ระดับหนึ่ง

ศิลปินในงาน Alexei Belousov จากอิสราเอลและ ผม จากประเทศไทย


มืดได้อีก !!! และแถมท้ายด้วย Clip VDO น้อยใจยาและ Romance ซึ่งอุทิศ Mario Egido ผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งเป็นชื่อของงานนี้เพราะว่าเขาชื่นชอบเพลงนี้มาก !!



 

เดี๋ยวบล็อกหน้าจะพาไปที่บ้านของลุง Sergovia ที่ Renares ครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

Concert in India 2011

ปีนี้เป็นอีกครั้งที่ได้รับเชิญไปแสดง Kalkata ในโปรเจคยิ่งใหญ่ Avataar Live in Concert ซึ่งแสดงร่วมกับ Johanes Moller แชมป์ GFA 2010 และ นักกีตาร์สไลด์อินเดียชื่อดัง Pandit Debashish และนักดนตรีอีกหลายๆ ท่าน


ส่วนตัวผมได้แสดงเดี่ยวต่างหากอีก 2 Concert ในวันที 8 มีนาคน ที่โรงเรียน Future Hope School และในวันที่ 9 มีนาคมที่ ICCR


และในวันที่ 10-13 ก็เป็น Concert ใหญ่ก็แสดงร่วมกันวงใหญ่ถือว่าเป็นประสพการณ์ที่ดีครั้งหนึ่งในชีวิตที่แสดงร่วมกับศิลปินต่างชาติหลายๆประเทศ





วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

ธุรการหรือผู้จัดการเป็นผู้กำหนดความอยู่รอดของครูสอนดนตรี ?

ธุรการหรือผู้จัดการเป็นผู้กำหนดความอยู่รอดของครูสอนดนตรี ?


ในโรงเรีัยนดนตรีในประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน สรุปแล้วใครเป็นผู้ชี้ความอยู่รอดของครูสอนดนตรี จากประสพการณ์ที่อยู่ในอาชีพสอนดนตรีมา 15 ปี ก็จะพบว่าโดยส่วนใหญ่ผู้ที่จัดการนักเรียนให้ครูก็คือ ธุรการนั้นเอง ธุรการก็จะเลือกหาครูที่ว่างให้ หรือไม่ก็ครูที่สนิทสนมก่อน (ครูที่ไม่ชอบขี้หน้าอาจจะเป็นอันดับหลังสุด) กลับกลายเป็นว่า ธุรการกลายเป็นผู้จัดการไปเองก็ว่าได้ โดยทั่วไปแล้วธุรการเป็นเพียงผู้แค่รับเรื่อง ผู้จัดการต่างห่างควรเป็นผู้ที่จะตัดสินใจลงนักเรียนให้กับครูในเวลาต่างๆ เพราะว่าครูนั้นเป็นทรัพยากรบุคลหลักของโรงเรียนดนตรี ผู้จัดการสามารถกำหนดกลยุทธ์ต่าง เพื่อความสร้างความจงรักภักดีต่อองกรค์ ค่าตอบแทน และแรงจูงใจต่างๆให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ ที่โรงเรียนวางไว้ แต่ในปัจจุบันกลับกลายเป็นว่า ครูสอนดนตรีอยู่ภายใต้การดูแลของธุรการไป ในหลายๆโรงเรียนเสียครูดีๆหลายคนและนักเรียนไปจากการทำงานที่เกินหน้าที่ของธุรการนี้เอง

อ่านๆไปจนจบฝากลองนึกหน่อยว่าโรงเรียนที่ทุกท่านสอนอยู่เป็นอย่างนี้หรือไม่ ?

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เรียนกีตาร์คลาสสิก จบมาจะทำอะไร ?


เรียนกีตาร์คลาสสิก จบมาจะทำอะไร ?

เป็นคำถามยอดฮิต ของผู้ปกครองทั่วไปที่ลูกๆอยากเข้าเรียนเอกดนตรี ว่าจบมาจะทำอะไรกันดี ผมจะกล่าวโดยทั่วไปก่อนว่า งานหลักๆ ของนักกีตาร์คลาสสิกทั่วๆ ไปก็คืองานสอนไม่ว่าจะเป็นในไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งเมื่อจบมาแล้วผมคิดว่าจะมีรายได้มากกว่าผู้ที่จบปริญญาตรีทั่วไป โดยรายได้เฉลี่ยสอนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ ประมาณ 8000-16,000 บาท ซึ่งถ้าเปรียบกับคนจบสาขาอื่นๆ 8000-16,000 ต้องทำงานถึง 5 วันเลยทีเดียว แต่การสอนดนตรีก็จะมีข้อเสียอย่างหนึ่งคือถ้าเราไม่สบายหรือขาดสอนรายได้ก็จะหายไปด้วยไม่สามารถนำใบรับรองแพทย์มายื่นกับนักเรียนได้ (555) และช่วงวันธรรมดาก็หาเด็กเรียนยากหน่อยในเวลาช่วงทำงาน อาจจะสอนได้เฉพาะช่วงเย็นๆ เท่านั้น โดยค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปผู้ที่สอนกีตาร์ตามโรงเรียนทั่วไปเป็นอาชีพหลักรายได้จะอยู่ที่เดือนละ 20,000-30,000 บาทโดยประมาณ

กับอีกงานหนึ่งคือ การแสดงคอนเสิร์ต เป็นอีกงานหลักหนึ่งของนักกีตาร์แต่ในเมืองไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก เพราะยังไม่สามารถยึดเป็นอาชีพหลักได้ ซึ่งผมจะเล่าจากประสพการณ์ที่ผ่านมานะครับ อาชีพการแสดงอาจเป็นอาชีพที่จำกัดกับคนที่มีชื่อเสียงมากๆเท่านั้น เพราะเป็นที่ต้องการของทุกคน ในเมืองไทยอาจจะแสดงในประเภทเล่นตามโรงแรมซึ่งรายได้อยู่ที่ 15,000-30,000 ต่อเดือน กับการเล่นคอนเสิร์ตของผม โดยเฉลี่ยแล้วปีนึงจะเดินทางไปแสดงยังต่างประเทศประมาณปีละ 5 ประเทศ ซึ่งรายได้ในการเล่นในแต่ละครั้งจะตกอยู่ระหว่าง 20,000-30,000 ขึ้นอยู่กับระยะเวลาว่าไปนานเท่าใด หรือว่าใครเป็นผู้จัด ซึ่ง Rate 500 EU เป็นราคากลางมาตรฐานสำหรับนักกีตาร์หน้าใหม่ยังมีชื่อเสียงไม่มาก แต่ถ้ารุ่นใหญ่ๆ อาจจะราคา 1000 EU ขึ้นไป และเวลาในประเทศผมก็รับงานเล่น EVENT ทั่วไปปีละ 2-5 งานโดยทั่วไปรายได้จากการแสดงต่อปีจะอยู่ประมาณ 150,000-200,000 บาท แต่ผมก็จะมีกำไรจากได้ไปเที่ยวต่างประเทศด้วยแบบไม่ต้องจ่ายเงินค่าเที่ยวเลย !

โดยสรุปแล้วอาชีพนักดนตรีก็ยังเป็นอาชีพที่ทำแล้วมีความสุขและก็หาเงินได้ง่ายกว่าอาชีพอื่นๆ โดยทั่วไปครับ